ยินดีต้อนรับสู่ ซิกเนเจอร์ โซลูชั่นส์

บริษัท ซิกเนเจอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด เป็นบริษัทที่ปรึกษาที่ให้คำปรึกษาทางด้านการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กร ตลอดจนทรัพยากรบุคคลแก่องค์กร/หน่วยงานทั้งในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนอย่างครบวงจร บริษัทฯ ได้รับการรับรองเป็นที่ปรึกษาประเภทนิติบุคคล หมายเลข 2497 ระดับ 1 สาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร และสาขาการวิจัยและการประเมินผล โดยศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง

Signature Solutions มีความภาคภูมิใจในการให้คำปรึกษาด้วยความรู้ ความเชี่ยวชาญอย่างมืออาชีพ  บริษัทฯมีเจตนารมณ์มุ่งให้คำปรึกษาที่เพิ่มคุณค่า และสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริงแก่ลูกค้าทั้งในระดับองค์กรและระดับปัจเจกบุคคล โดยอาศัยประสบการณ์ การศึกษาวิจัยค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งองค์ความรู้และกระบวนวิธีศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานร่วมกับลูกค้าเพื่อตอบ ‘โจทย์’ สำคัญต่างๆทางด้านการบริหารจัดการและทรัพยากรบุคคล  แปลงจุดเด่นให้เป็นคำตอบ ทางออก หรือข้อได้เปรียบอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนขององค์กร  Signature Solutions ไม่เพียงช่วยองค์กรต่างๆแก้ปัญหา แต่ยังมุ่งใช้ประเด็นปัญหาเหล่านั้นให้เป็นโอกาสในการเรียนรู้ และเติบโตพัฒนาขององค์กรและคนในองค์กรไปพร้อมกัน เราปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ และด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งซึ่งนำไปสู่ความไว้เนื้อเชื่อใจ การยอมรับนับถือ     และสายสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

รูปแบบบริการให้คำปรึกษา

  • การออกแบบและปรับปรุงระบบบริหารจัดการองค์กรและระบบทรัพยากรบุคคลขององค์กร อาทิ
    • แผนกลยุทธ์ทรัพยากรบุคคล (Strategic People Management/HR Plan)
    • การออกแบบ/กำหนด/วิเคราะห์และปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและตำแหน่งงาน (Organization Structure and Job Design/Redesign ระบบแผนกำลังคน (Manpower/Workforce Planning System)
    • ระบบสมรรถนะและการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ตลอดจนการสร้างและสรรหาผู้นำ การพัฒนาผู้นำจากคนเก่งคนดีในองค์กรโดยอิงหลักสมรรถนะ รวมถึงการกำหนดแผนรายบุคคลเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้เติบโตของบุคลากรให้สอดคล้องกับบุคลิก อุปนิสัย จุดเด่นจุดด้อยของบุคลากรแต่ละคน (Competency Modeling, Competency-based Assessment, Development and Coaching System) ที่อยู่บนพื้นฐานของการประเมินและพัฒนาสมรรถนะอันเป็นผลจากการศึกษาวิจัยและประสบการณ์ของ Signature Solutions  ซึ่งลูกค้าสามารถเรียนรู้และรับถ่ายทอดไปดำเนินการและพัฒนาต่อยอดภายในองค์กรได้
    • ระบบบริหารและประเมินผลงาน (Performance Management System)
    • ระบบเส้นทางก้าวหน้าในสายอาชีพและระบบกำลังคนทดแทนตำแหน่งงานสำคัญ (Career Path and Succession Planning System)
    • ระบบบริหารบุคลากรผู้มีศักยภาพสูง (Talent Management System) ฯลฯ
  • การบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อเตรียมรับการปรับเปลี่ยนต่างๆอันอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายในหรือภายนอกองค์กร อาทิ การปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ พันธกิจ หรือแผนกลยุทธ์ขององค์กรอย่างสำคัญ การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ สภาวะทางเศรษฐกิจ การตลาด กฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆที่เปลี่ยนไป ฯลฯ  โดยขอบเขตงานอาจรวมถึงการทบทวน/ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล การนำแผนการปรับเปลี่ยนองค์กรและระบบต่างๆไปปฏิบัติจริงให้สัมฤทธิ์ผลทั้งในระดับหน่วยงานและระดับบุคคล ตลอดจนการสื่อสารสร้างความเข้าใจและการยอมรับสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในหมู่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
  • การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่ออกแบบหลักสูตรและจัดให้เป็นการเฉพาะแก่องค์กร ในหัวข้อต่างๆที่จำเป็น หรือส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการองค์กร และ/หรือทรัพยากรบุคคล เช่น หลักสูตรการสร้างผู้นำ  หลักสูตรการสร้างโค้ชสำหรับผู้บริหาร หลักสูตรวุฒิภาวะทางอารมณ์สำหรับผู้บริหาร  หลักสูตรเสริมศักยภาพผู้บริหารและบุคลากรทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ฯลฯ

โดยบริการให้คำปรึกษาทั้งหมดข้างต้น จะใช้กรอบความคิด ระบบวิธี และเครื่องมือซึ่งเป็นนวัตกรรมเฉพาะของ  Signature Solutions ดังต่อไปนี้

  • JobChampion™
– เพื่อการวิเคราะห์ภาระงานและการกำหนด/ปรับปรุงตำแหน่งงาน
  • StructureChampion™
– เพื่อการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างองค์กร
  • PerformanceChampion™
– เพื่อการปรับปรุงพัฒนาระบบบริหารผลงานขององค์กร
  • PeopleProfile™
– เพื่อการจัดทำต้นแบบสมรรถนะ พัฒนาและประเมินสมรรถนะของบุคลากร
  • PeoplePlan™
– เพื่อการกำหนดอัตรากำลังและการวางแผนกำลังคนขององค์กร
  • การสำรวจ/ประเมินต่างๆด้วยกรรมวิธีและเครื่องมืออันเป็นผลการศึกษาวิจัยของ Signature Solutions  ได้แก่
  • PeoplePoll™
– เพื่อการสำรวจความพึงพอใจของบุคลากรในองค์กร
  • PeopleLegacy™
– เพื่อการศึกษาวัฒนธรรมองค์กร
  • PeoplePotential™
– เพื่อการสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรมและพัฒนาของบุคลากรในองค์กร

คณะที่ปรึกษาของ Signature Solutions

Signature Solutions ประกอบด้วยคณะที่ปรึกษาผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งมีที่ปรึกษาผู้มีเกียรติประวัติในการได้รับทุนการศึกษาต่างๆอันเป็นที่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ และมีประสบการณ์การทำงานและการบริหารในบรรษัทข้ามชาติและองค์กรที่มีชื่อเสียง  จึงสามารถนำความรู้และประสบการณ์ในการบริหารงานและบริหารคนอันหลากหลายมาประยุกต์และบูรณาการใช้เพื่อประโยชน์ในงานให้คำปรึกษาแก่องค์กร/หน่วยงานได้อย่างรอบด้าน  นำไปสู่ข้อแนะนำและคำปรึกษาที่มีรากฐานมาจากความเข้าใจในองค์กรและบุคคลโดยแท้ สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการและแก้ปัญหาองค์กรอันซับซ้อนได้อย่างโดดเด่น สร้างสรรค์ เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื่องด้วยคุณสมบัติของคณะที่ปรึกษาอันเป็นเอกลักษณ์  เฉพาะนี้

คณะที่ปรึกษาของ Signature Solutions ใช้โอกาสในการปฏิบัติงานโครงการให้คำปรึกษาเป็นโอกาสในการแสดงฝีมือความสามารถเพื่อให้คำปรึกษาของบริษัทฯสามารถเพิ่มคุณค่า และสร้างความแตกต่างให้แก่องค์กรของลูกค้าได้อย่างแท้จริง  เราปฏิบัติงานด้วยพลังสมองและพลังใจเต็มเปี่ยม อีกทั้งด้วยความเข้าใจในสถานการณ์ของลูกค้าอย่างแท้จริงเพื่อให้ได้ผลงานคำปรึกษาที่ดีที่สุดและเป็นประโยชน์สูงสุด เราภาคภูมิใจในผลงานของเราและชื่นชมยินดีในผลลัพธ์ที่เกิดแก่องค์กรของลูกค้า ยิ่งกว่านั้น เรายังมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งในความไว้เนื้อเชื่อใจ ความยอมรับนับถือ และสัมพันธภาพอันดีที่เราได้รับจากลูกค้าเนื่องจาก ‘คุณค่า’ และ ‘ความแตกต่าง’ ที่ได้เราได้ส่งมอบให้แก่ลูกค้าทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับหน่วยงาน และระดับองค์กร

หากท่านต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ

บริษัท ซิกเนเจอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด
242/23 ซอยวิภาวดีรังสิต 82 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ (662) 041-4500-1 โทรสาร (662) 041-4502
Website  :    www.signature4u.com
Email     :    info@signature4u.com
Facebook : www.facebook.com/signature4u
Line : @ssl_line

Posted in Uncategorized | Tagged , , , , , , , , , , | Leave a comment

ขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจความคิดเห็น

งานวิชาการทางสังคมศาสตร์ของไทยจำนวนไม่น้อยเลือกใช้วิธีการสำรวจความคิดเห็น และใช้วิธีสุ่มเพื่อให้ผลการสำรวจมีความน่าเชื่อถือ นอกจากนั้น ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐก็มักใช้การสำรวจความคิดเห็นเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติงาน และเริ่มกำหนดเกณฑ์คุณภาพของการสำรวจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกณฑ์เกี่ยวกับกลุ่ม

กล่าวได้ว่าในการเสนอกรอบแนวคิดงานสำรวจความเห็นในประเทศไทย มักต้องกำหนดวิธีการสุ่ม กลุ่มเป้าหมาย และขนาดของกลุ่มตัวอย่างจนเหมือนจะกลายเป็นเงื่อนไขมาตรฐานไปแล้ว

เหตุที่การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างมีบทบาทสำคัญในการออกแบบโครงงานสำรวจความคิดเห็น  เป็นเพราะงานสำรวจความคิดเห็น (survey) ใด ๆ ล้วนมี “ต้นทุน” ซึ่งหมายรวมถึง เงิน เวลา และทรัพยากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อจำกัดเรื่องต้นทุนนี้ ที่ผ่านมาทำให้ผู้สำรวจไม่อาจสอบถามความคิดเห็นของประชากรทั้งหมดได้  การสุ่มตัวอย่างทำให้การอนุมานความคิดเห็นของประชากรเป็นไปได้ภายในต้นทุนงบประมาณที่กำหนด

อ่านรายละเอียด …

 

Posted in Uncategorized | Leave a comment

Package สำรวจความผูกพันของคนในองค์กร (ออนไลน์)

 

หมายเหตุ :

  1. ราคาข้างต้น รวม
    – แบบสำรวจมาตรฐานเพื่อสำรวจความผูกพันของคนในองค์กร (สำรวจทางออนไลน์เท่านั้น – ไม่นำส่งแบบสำรวจในรูปแบบเอกสารหรือไฟล์ใด ๆ )
    – Link และ QR Code เพื่อเข้ากรอกแบบสำรวจในระยะเวลาตามที่บริษัทฯ กำหนด
    – รายงานมาตรฐานแสดงผลการสำรวจความผูกพันที่มีต่อองค์กร ในรูปแบบตารางและกราฟแสดงผล พร้อมข้อความบรรยายสรุปตารางโดยสังเขป โดยมีขอบเขตเนื้อหาดังนี้
    • ข้อมูลหน่วยงานที่ประกอบด้วยชื่อหน่วยงาน และจำนวนบุคลากร
    • ข้อมูลการสำรวจประกอบด้วยชื่อการสำรวจ ชื่อบริษัทฯ ช่วงเวลาดำเนินการเก็บข้อมูล วิธีการเก็บข้อมูลและการประมวลผล และวันที่ออกรายงาน
    • จำนวนและอัตราส่วนผู้ตอบแบบสำรวจโดยเปรียบเทียบ
    • ผลการตอบแบบสำรวจในรูปของคะแนนเฉลี่ยและร้อยละ
    • สถิติเชิงพรรณนาของผลการตอบแบบสำรวจในภาพรวมองค์กรและจำแนกกลุ่มผู้ตอบ
    รายงานจัดส่งเป็นไฟล์ Excel และ PDF บรรจุลงบนแผ่น CD จำนวน 1 แผ่น/องค์กร
  2. ราคานี้สำหรับลูกค้าองค์กร ที่ได้ซื้อ package นี้ภายในเดือน กรกฎาคม 2561 เท่านั้น
  3. ข้อเสนอนี้ไม่รวมลูกค้าประเภทบุคคล และไม่อนุญาตให้นำผลการสำรวจนี้ไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการของบุคคล
  4. แสดงความจำนงและขอรับแบบแสดงความจำนง ตาม Link นี้ >>>
  5. ราคาข้างต้น ไม่รวม
    – ข้อมูลดิบที่ได้จากการสำรวจ (บริษัทฯ จะเก็บรักษาให้เป็นความลับเป็นเวลา 2 ปี และท่านสามารถขอให้ทำรายงานเชิงวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ในภายในเวลาดังกล่าว โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม)
    – การปรับรูปแบบแบบสำรวจ
    – การปรับข้อคำถามในแบบสำรวจ
    – การวิเคราะห์ผลเพิ่มเติมจากรายงานมาตรฐาน
    – การประมวลผลด้วยสถิติเชิงอนุมาน เช่น ANOVA หรือ Regression
    – การเรียบเรียงรายงานตามรูปแบบรายงานของหน่วยงาน (Microsoft Word/PDF)
    – ฯลฯ

หากท่านต้องการปรับรายละเอียดเพิ่มเติมจากแบบสำรวจและรายงานมาตรฐาน โปรดสอบถามโดยตรงจากบริษัทฯ ที่ @ssl_line

เงื่อนไขและวิธีขอรับสิทธิ์ทำแบบสำรวจ ฟรี!

  • ผู้ตอบแบบสำรวจไม่เกิน 100 คน
  • คำถามไม่เกิน 15 ข้อ (เลือกจากคำถามมาตรฐานของบริษัทฯ)
  • กด like ภาพประชาสัมพันธ์โครงการนี้ใน Line จากนั้นแชร์ภาพในไทม์ไลน์ และส่งภาพมาเป็นหลักฐานที่ @ssl_line
  • ฟรีเฉพาะ 10 องค์กรแรก ที่คุณสมบัติครบถ้วนและส่งแบบแสดงความจำนง ตาม Link นี้ (เรียงตามเวลาที่ได้รับแบบฟอร์ม)
Posted in Uncategorized | Leave a comment

ทราบหรือไม่? ทำไมไมเคิล พอร์เตอร์ กูรูด้านกลยุทธ์ จึงกล่าวว่า “แก่นแท้ของกลยุทธ์ คือ การเลือกว่าอะไรที่จะไม่ทำ”

ไมเคิล พอร์เตอร์ ได้รับยกย่องว่าเป็นกูรูด้านกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ เขาเขียนตำราเกี่ยวกับกลยุทธ์การแข่งขันขององค์กรไว้หลายเล่ม รวมทั้งได้บรรยายและตอบข้อสงสัยในเรื่องเหล่านั้นในหลายโอกาสด้วยกัน

พอร์เตอร์นำเสนออย่างจริงจังว่ากลยุทธ์ที่ดีต้องเลือกมุ่งเน้นในบางด้าน และเลือกที่จะสละบางด้าน เพราะการดำเนินงานที่เป็นกลยุทธ์ต้องเน้นมาก ให้ความสำคัญมาก มีการกระทำซ้ำในทิศทางเดียวกันบ่อยมาก และต่อเนื่องยาวนาน

“If you don’t do it often, it’s not strategy,” ถ้าคุณไม่ทำมันบ่อยๆ มันก็ไม่ใช่กลยุทธ์

“If you don’t pursue a direction for two or three years, it’s meaningless.” ถ้าคุณไม่ทำต่อเนื่องในทิศทางเดียวกันสองสามปี มันก็ไม่มีความหมายเลย

กลยุทธ์ที่จะเป็นประโยชน์ได้ จึงต้องชัดเจนว่าจะไปในทิศทางใด และองค์กรต้องทุ่มเทจริงจังกับทิศทางนั้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง หากจะทำเช่นนั้นได้ก็แปลว่าองค์กรต้องเลือกที่จะไม่ทำในสิ่งที่ไม่ใช่ทิศทางนั้นด้วย

อ่านรายละเอียด …

Posted in Uncategorized | Leave a comment

ความผูกพันของบุคลากรมีผลต่อองค์กรอย่างไร

การสำรวจความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อภาครัฐของไทยได้เสร็จสิ้นลงตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และหน่วยงานต่างๆที่เข้าร่วมการสำรวจได้รับรายงานผลการสำรวจในภาพรวมของหน่วยงานของท่านไปแล้วโดยทั่วกัน ในการนี้ คณะที่ปรึกษาขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งที่ทุกท่านให้ความร่วมมืออนุเคราะห์ข้อมูลมา ณ ที่นี้

การสำรวจและวิเคราะห์ความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อภาครัฐในครั้งนี้ มาจากกรอบความคิดตั้งต้นที่ว่า บุคลากรอาจแสดงความผูกพันต่อองค์กรได้ใน 3 ลักษณะ ได้แก่

  • T-Trust (ความเชื่อถือไว้วางใจในองค์กร)
  • A-Alertness (ความกระตือรือร้นที่มีให้แก่องค์กร) และ
  • P-Participation (การมีส่วนร่วมในภารกิจ/กิจกรรมทั้งหลายขององค์กร)

อ่านรายละเอียด …

Posted in Uncategorized | Leave a comment

“Social Civility” ในยุคดิจิตัล

คำว่า “Civility” นี้ ทำให้นึกถึงวิชา Civilization อันว่าด้วยอารยธรรมของมนุษย์ที่เรียนสมัยอยู่มหาวิทยาลัยปีหนึ่ง แต่ก็ดูจะไม่ใช่เสียทีเดียว เพราะ คำตรงข้ามของ “Civility” ในศัพท์ยุค digital นี้เขาใช้ “Incivility” ไม่ใช่ “Lack of Civilization” หรือ “Uncivilized” ที่แปลว่า “ป่าเถื่อน”  เพราะดูแล้วความหมายที่ต้องการจริงๆก็คงเทียบเคียงได้กับ “สมบัติผู้ดี” ของไทยเรา

“ผู้ดี” นี้ ก็ไม่ใช่ในความหมายเชิงตรงข้ามกับ “ไพร่” อันเป็นคำที่กลับมาฮิตในยุคนี้ แต่หมายความง่ายๆว่า รู้จักสำรวมกาย วาจา รู้จักเกรงใจผู้อื่น  ไม่สร้างความเดือดร้อนรบกวนผู้อื่น ฯลฯ  ใครๆที่ประพฤติตนอย่างนี้ไม่ว่าจะเรียกตนเองเป็นชนชั้นไหนก็ถือได้ว่า มีสมบัติผู้ดี ได้ทั้งสิ้น

อ่านรายละเอียด …

Posted in Uncategorized | Leave a comment

อาขยาน กับ การสร้าง “ค่านิยม”

“เด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
เด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
หนึ่งนับถือศาสนา
สองรักษาธรรมเนียมมั่น
สามเชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
สี่วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
ห้ายึดมั่นกตัญญู
หกเป็นผู้รู้รักการงาน
เจ็ดต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
แปดรู้จักออมประหยัด
เก้าต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล
น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ ให้เหมาะกับงานสมัยชาติพัฒนา …”

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วเมื่อเข้าโรงเรียนมัธยมต้น  โรงเรียนเปิดเพลงนี้ทุกวันก่อนเคารพธงชาติตอนเช้า  ถึงทุกวันนี้จะล่วงเลย “สมัยชาติพัฒนา” มาเนิ่นนานแล้ว แต่ถ้าให้รำลึกความหลัง ก็ยังจำบทเพลงนี้ได้

มาถึงวันนี้ ค่านิยมบางข้อในอาขยานนี้อาจฟังดูล้าสมัยสุดๆสำหรับคน Gen ใหม่ๆ  แต่ก็เชื่อว่ามีอีกหลายข้อที่ไม่ว่ายุคไหนสมัยไหนก็ไม่ตกยุค

อ่านรายละเอียด …

Posted in Uncategorized | Tagged , | Leave a comment

การวัดผลงานลูกน้อง : วัดอะไรและไม่วัดอะไร

tape-measure

กระทาชายนายหนึ่ง ก้มลงหากุญแจรถอยู่แถวใต้โคมไฟส่องทางริมถนนอยู่เป็นนาน  มีผู้หวังดีมาช่วยกันค้นหา แต่หาอยู่นานก็ไม่เจอ จนผู้หวังดีรายหนึ่งต้องออกปากถามว่า “หาไม่เจอ คุณแน่ใจเหรอว่าทำหล่นแถวนี้”  เจ้าตัวตอบว่า “ผมไม่ได้ทำหล่นที่นี่ แต่ตรงจุดที่ทำหล่นมันมืด ผมเลยมาหาอยู่แถวนี้ มันค่อยสว่างหน่อย!”

เรื่องนี้อุปมาคล้ายๆกับที่ผู้บริหารหลายคนปฏิบัติอยู่เมื่อต้องประเมินลูกน้อง อาทิ

‐      สิ่งที่ตั้งไว้หมายจะใช้ประเมิน ในที่สุดใช้ประเมินไม่ได้ หรือไม่เป็นรูปธรรม ไม่เป็นที่ยอมรับ   ผลการประเมินแบบนี้ หากเชื่อมโยงไปสู่การขึ้นเงินเดือน การจ่ายโบนัส ก็จะก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆนานาตามมา

‐      ประเมินได้ แต่ไม่ถูกตัว สิ่งที่ควรประเมินไม่ได้ประเมิน ส่วนสิ่งที่ประเมินก็มีประโยชน์น้อย หรืออยู่นอกขอบเขตที่ผู้ปฏิบัติจะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ประเภท “วัดไปก็เท่านั้น”

‐      ฯลฯ

อ่านรายละเอียด …

Posted in Uncategorized | Tagged , , , , | Leave a comment

ภาพจากการบรรยายหลักสูตร Advanced Human Resource Management หัวข้อ Effective Manpower Planning ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภาพจากการบรรยายหลักสูตร Advanced Human Resource Management หัวข้อ Effective Manpower Planning ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2557

IMGP1619R 20140510_112820 R

 

ดูเพิ่มเติม …

Posted in Uncategorized | Tagged , | Leave a comment

บันได 5 ขั้นพิสูจน์ผลงาน HR

สภาพความเป็นจริงในองค์กรทุกวันนี้ทำให้หน่วยงานทางด้าน HR ไม่อาจดำรงตนเป็นหน่วยงานที่ไม่มีเป้าหมายตัวชี้วัดผลงานได้อีกแล้ว คนใน HR เองก็ต้องทำใจยอมรับว่าหน่วยงานของตนจำเป็นต้องถูกวัดผลงาน แม้หลายคนจะเห็นว่าเนื้องานของตนเป็นงานบริการ งานกิจวัตรต่อเนื่อง หรืองานละเอียดอ่อนที่เกี่ยวกับคนซึ่งวัดผลยาก  ในขณะเดียวกัน คน HR ในหลายๆองค์กรก็มักรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจเมื่อไม่ได้รับการยอมรับทัดเทียมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่ทำงานด่านหน้าและเป็นผู้สร้างผลงานหลักขององค์กร  บ้างก็รู้สึกว่า คนจะเห็นความสำคัญของ HR ก็เฉพาะเมื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นกลไกในการให้คุณให้โทษผู้คนตามความต้องการของผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น  แต่ HR จะก้าวพ้นจากการเป็นหน่วยงาน “ปิดทองหลังพระ” ไปเป็นฝ่ายงานที่มีความภาคภูมิด้วยผลงานก็ต่อเมื่อ HR เองมีความพร้อมและมีความกล้าหาญที่จะประเมินผลสำเร็จของตนอย่างตรงไปตรงมา และนำผลการประเมินนั้นมาปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่อง

อ่านรายละเอียด …

Posted in Uncategorized | Tagged , , | Leave a comment

ภาพจากงานบรรยายที่ “กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น”

IMG_4918    IMG_4920

ดูเพิ่มเติม …

Posted in Uncategorized | Leave a comment